วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บทที่3

  1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเลคทรอนิคส์แบ่งได้ 3 วิธี คือ
1.1 ขั้นเตรียมข้อมูล (input) เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่ให้สะดวกต่อการประมวลผลมี 4 วิธี
·       การลงรหัส
·       การตรวจสอบ
·       การจำแนก
·       การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
1.2 ขั้นตอนการประมวลผล (Processing) คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ใน คอมพิวเตอร์ ซึ่งป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
·       2.1 การคำนวณ
·       2.2 การเรียงลำดับข้อมูล
·       2.3 การสรุป
·       2.4 การเปรียบเทียบ
1.3 ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆอาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์

  2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
1)      บิต (Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งเป็นข้อมูลเลขฐาน 2 คือ 0,1
2)      ไบต์ (Byte) เรียกว่า ตัวอักขระ ,ตัวอักษร คือการนำบิตมารวมกัน
3)      ฟิลด์ (Flied) คือ การนำไบต์หลายๆไบต์รวมกันเป็น เรียกว่าเขตข้อมูล
4)      เรคคอร์ด (Record) คือ การนำเอาฟิลด์หลายๆฟิลด์มารวมกัน เรียกว่าระเบียน
5)      ไฟล์ (Flies) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน เรียกว่า แฟ้มข้อมูล
6)      ฐานข้อมูล (Database) คือ การนำไฟล์หลายๆ ไฟล์มารวมกัน เรียกว่าฐานข้อมูล

  3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีระบบใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ 3 แบบ คือ
1)      แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น (Hierarchical Database Model)
2)      แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย (Network Database Model)
3)      แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model)
ระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรคือ
1)      ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลสามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน
2)      หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล
3)      รักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
4)      กำหนดระบบรักษาความปลอดภัย,กำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
5)      เกิดความอิสระของข้อมูล

  4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์
1)      การประมวลผลแบบแบตซ์  (Batch  Processing)   คือ การประมวลผลข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมไว้เป็นชุดข้อมูล  แล้วจึงนำส่งข้อมูลเหล่านั้นไปทำการประมวลผลข้อมูลพร้อมกันทั้งหมดทีเดียวซึ่งระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้เพื่อรอการประมวลผล  อาจจะเป็นรายวัน  รายสัปดาห์  รายเดือน  หรือรายปี  เป็นต้น  เช่นการประมวลผลการเสียภาษีประจำปี   การคิดดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร
2)      การประมวลผลแบบเรียลไทม์  (Real - Time Processing)  คือ  การประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ  บางทีอาจจะเรียกว่า  การประมวลผลแบบ  Transaction  Processing   เช่น  ระบบเงินฝาก  -  ถอนเงินด้วย  ATM  ของธนาคาร  ระบบสำรองที่นั่งในเครื่องบิน  ระบบการตัดยอดสินค้าคงคลังทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า  เป็นต้น


          การประมวลผลข้อมูลทั้งสองวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของระบบว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีหรือสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นกลุ่มก่อนแล้วจึงทำการประมวลผลพร้อมกันทีเดียว  เช่น  การประมวลผลการเสียภาษี  จะทำการประมวลผล  ปีต่อครั้ง  เนื่องจากการคิดภาษีเป็นการคิดจากรายได้ตลอดปี  แต่การตัดยอดบัญชีเงินฝากของลูกค้าจำเป็นที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการฝากหรือถอนเงิน  เพื่อทราบยอดคงเหลือที่ลูกค้ามีอยู่  ณ  ปัจจุบัน  เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บทที่2

(1)อธิบายความหมาย   

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์                         ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่อง คอมพิวเตอร์ เมนบอร์ด(Main board) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้างที่เกี่ยวข้อง
  2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม(Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้       ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ                                                                                                                                                          ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท(Software)                                                                                                               2.1ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ทำหน้าที่จัดการและควบคุมทรัพยากรต่างๆของคอมพิวเตอร์                      และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่างๆตั้งแต่ผู้เริ่มใช้เปิดคอมพิวเตอร์                 2.2ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงาน                  ด้านใดด้านหนึ่งโดย เฉพาะตามผู้ใช้ต้องการ
  3.บุคลากร (People ware) หมายถึง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆและผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในหน่วยงานนั้น               บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้นมีความสำคัญมากเพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นต้องมีการ             จัดเตรียมเปลี่ยนระบบจัดเตรียมโปรแกรมดำเนินงานต่างๆ
  4.ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ              โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มา           จากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญาลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมี            ความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น
  5.สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้                      ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด         เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป

(2) หากเป็นเจ้าของธุรกิจ 

ร้านขายของสะดวกซื้อ ได้มีการนำเอา Peopleware คือ บุคลากรมาใช้ในการคิดราคาสินค้าแต่ละรายการ อีกทั้งยังมี Hardware คือ เครื่องคิดเงินแบบมีลิ้นชักเก็บเงินมาใช้ เวลาผู้มาใช้บริการ(ลูกค้า)นำสินค้ามาคิดราคา พร้อมกับการนำ Software มาให้บริการในการเติมเงินโทรศัพท์แบบออนไลน์ได้ ณ จุดที่ชำระค่าสินค้าด้วย
(3)รูปแบบระบบสารสนเทศ
สวนผลไม้มีผลไม้
7ชนิด
4ชนิด
8ชนิด
3ชนิด
2ชนิด
9ชนิด

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยี (Technology) คือ  การใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เครื่องมือ หลักการ ความคิด และเทคนิคต่างๆที่มีการจัดวางระเบียบไว้แล้วมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้งานที่ทำนั้น เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เดิมบริษัทใช้เทคโครกราฟมีลักษณะเป็นจานกระดาษในการคำนวนหาระยะทางในการขนส่งสินค้าของบริษัท ในปัจจุบันเริ่มนำเอาระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก หรือ GPS ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System มาปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูล ทีผ่านการจัดเก็บ รวบรวม และเรียบเรียง เพื่อให้เกิดความสะดวกเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ใช้งาน เช่น ข้อมูลจาก ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก หรือ GPS ผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลในเรื่องของ ระยะทางที่วิ่ง/วัน/เดือน ปริมาณการใช้น้ำมัน/วัน/เดือน เป็นต้น เพื่อหาระยะทางวิ่งที่ใกล้และปลอดภัยที่สุด เป็นการช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)  คือ  การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้งานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูล ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโลโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยเกี่ยวกับการสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น การติดตามด้วยระบบ GPS สารมารถดูผ่านคอมพิวเตอร์ได้ สามารถดูระยะทางว่าเหลืออีกกี่กิโลเมตรจะถึงโรงงานลูกค้า เป็นต้น

ข้อมูล (Data)  คือ  ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจและสามารถนำมาใช้งานได้ เช่น ก่อนลงสินค้า จะมีการโทรแจ้งน้ำหนักการชั่งทุกครั้งที่น้ำหนักไม่ตรงกับใบชั่งที่ทางบริษัทออกให้กับคนขับรถ และ หลังลงสินค้า หากน้ำหนักที่ลงไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบน้ำหนักของทางบริษัท ก็จะทำการเก็บข้อมูลของเครื่องชั่งลูกค้าไว้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบในเรื่องส่วนต่างน้ำหนักสินค้า

ฐานความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชียวชาญ และมีคุณค่า เพื่อใช้แก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน่างๆได้ เช่น ในการชั่งน้ำหนักสินค้าแต่ละที่ส่วนใหญ่บริษัทจะเสียผลประโยชน์ จึงได้นำเอาข้อมูลของเครื่องชั่งแต่ละที่มาวิเคราะห์เพื่อไม่ให้บริษัทเสียผลประโยชน์ และเป็นการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพและปริมาณของสินค้าด้วย จึงให้คนขับรถสังเกตตำแหน่งของการจอดรถบนตราชั่งทุกครั้ง เพื่อหาจุดจอดที่ Balance เมื่อได้จุดจอดที่แน่นอนแล้วก็ทำการแจ้งคนขับที่เหลือให้จอดในตำแหน่งทีใกล้เคียงที่สุดต่อไป และทำบันทึกเป็นไว้ เป็นต้น

โครงสร้างสารสนเทศ ประกอบด้วย

  ระดับล่างสุด  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์กร เช่น การบันทึกจำนวนเบิกของ-จ่ายของ การบันทึกเกี่ยวกับการเดินทางส่งสินค้าของรถ เป็นต้น

  ระดับสอง  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวางแผน-ตัดสินใจ และควบคุมสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน เช่น การวางแผนเพื่อนำรถเข้าเช็คตามระยะที่กำหนดไว้ในแต่ละครั้ง เป็นต้น

  ระดับสาม  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสื่อสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลางเพื่อใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้น เช่นสื่อสารสนเทศที่เป็นรายงานสุดเป้าหมายประจำเดือน เป็นต้น

  ระดับที่สี่  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสื่อสารสนเทศำหรับผู้บริหารระดับสูง สำหรับใช้วางแผนในระยะยาว เช่น สื่อสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า แนวโน้มด้านการตลาด สถานะคู่แข่งการตลาด เป็นต้น

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ  ประกอบด้วย

  ยุคการประมวลผลข้อมูล เป็นยุคแรกๆในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อวัตถุประสงค์ คือ การคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวัน เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร เช่น การเก็บรักษาบันทึกต่างๆ เป็นต้น

  ยุคระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ การติดตามผล และวิเคราะห์งานของผู้บริหาร เช่น รายงานยอดการจัดส่งสินค้า เป็นต้น

  ยุคระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย คือ ความสำเร็จ

  ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นการใช้ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือในการจัดทำระบบสารสนเทศ โดยเน้นความคิดของการให้บริการสารสเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อินเตอร์เน็ตความ
เร็วสูง เป็นต้น