จริยธรรมสารสนเทศและสิทธิทางปัญญา
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น
ตัวอย่างของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คือการขโมยข้อมูลในบัตรATMในขณะที่ผู้เป็นเจ้าของบัตรได้ทำธุรกรรมต่างๆที่มีอุปกรณ์ สกิมเมอร์ ติดตั้งอยู่ที่ตู้ ATM เป็นต้น
Hacker หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดีสามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของ คอมพิวเตอร์ได้ แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์
Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดีจนสามารถเข้าสู่ระบบได้เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูลหรือทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์
สแปม (Spam) คือ การส่งอีเมล์ที่มีข้อความโฆษณาไปให้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับการสแปมส่วนใหญ่ทำเพื่อการโฆษณาเชิงพาณิชย์มักจะเป็นสินค้าที่น่าสงสัยหรือการเสนองานที่ทำให้รายได้อย่างรวดเร็วหรือบริการที่ก้ำกึ่งผิดกฎหมายผู้ส่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการส่งไม่มากนักแต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้รับอีเมล์นั้น
ม้าโทรจัน (Trojan horse) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิตและข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆโดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าวแล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบและเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์,เซิร์ฟเวอร์,หรือระบบเครือข่ายอีกทีซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ"ปฏิเสธการให้บริการ"(Denial of Services)
สปายแวร์(Spyware) คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล, ที่อยู่,E-Mail Address และอื่นๆซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่างๆเช่นPasswordหรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย
ตัวอย่างกฎหมาย พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิดต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
"ผู้ให้บริการ" หมายความว่า
"ผู้ให้บริการ" หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
"ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
การกระทำผิดและบทลงโทษ
1. หากเจ้าของระบบหรือข้อมูลไม่อนุญาตแต่มีผู้แอบไปใช้ในระบบหรือพื้นที่มีความผิดจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
2. หากแอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นแล้วเที่ยวไปป่าวประกาศให้ผู้อื่นรู้หรือทราบวิธีการเข้าระบบนั้นๆ จำคุกไม่เกิน 1 ปี
3. ข้อมูลของผู้อื่นที่เขาเก็บรักษาไว้แต่แอบไปล้วงข้อมูลของเขามา จำคุกไม่เกิน 2 ปี
4. ในกรณีที่ผู้อื่นส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตัวผู้ที่ไปดักจับข้อมูลมา จำคุกไม่เกิน 3 ปี
5. ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้อื่นทำงานอยู่แต่มีคนไปปรับเปลี่ยนข้อมูลหรือแก้ไขจนผิดเพี้ยนไปจากเดิมหรือทำให้เกิดความเสียหาย จำคุกไม่เกิน 5 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น